แชร์ประสบการณ์ ชำใบกวักมรกตด่าง

ทำความรู้จักกวักมรกต

ใบกวักมรกตด่าง

ต้นกวักมรกตเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมมาช้านาน อาจเป็นเพราะชื่อที่เป็นมงคล ประกอบกับเป็นไม้พุ่มที่สามารถเลี้ยงได้ และเจริญเติบโตได้ดีในบ้าน ในออฟฟิศ เป็นไม้ที่เหมาะสำหรับปลูกในที่ที่มีแสงรำไร

ลักษณะเด่นของต้นกวักมรกต

ไม้ที่มีลำต้นสีเขียวเข้ม ทั้งก้านและใบ ใบมีลักษณะเขียวมันวาว ไม้ที่มีหัวอยู่ใต้ดิน และเจริญเติบโตโดยการแตกกิ่งจากใต้ดิน มีใบเป็นคู่ๆ ตลอดกิ่งก้าน ว่ากันว่า ถ้าใครปลูกกวักมรกต และให้ดอก จะมีโชคมีลาภ

กวักมรกตต่าง

ไม้เกือบทุกประเภท มักจะมีสายพันธุ์ด่าง ไม่เว้นแม้แต่กวักมรกต โดยจะมีด่างสีเขียวเหลือง หรือด่างขาว ทำให้เป็นไม้ที่มีความต้องการสูง และแน่นอน ราคาก็จะสูงเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่เริ่มมีขายในท้องตลาด ต้นกวักมรกตด่าง จะมีราคาแพงในระดับห้าหลัก หรือหลักหมื่นบาทต่อต้นเลยทีเดียว 

ปัจจุบัน ปี 2567 กวักมรกตด่าง มีราคาถูกลง แต่เมื่อเทียบกับไม้ใบทั่วไป ก็ถือว่า ยังมีราคาสูงพอสมควรยังพบว่า มีการขายใบ เพื่อนำไปปักชำ ในราคาหลักร้อยบาทเลยทีเดียว และถ้าอยากได้ใบด่างแท้ ที่ไม่ใช่ใบเขียวลุ้นด่างที่พ่อค้า แม่ค้ามักพูดกัน ใบด่างแท้ก็จะมีราคาแพงเพิ่มขึ้นอีกด้วย

วิธีการชำใบกวักมรกตด่าง

ปกติเราสามารถชำใบกวักมรกตด่างได้เช่นเดียวกับการชำกวักมรกตเขียว โดยการเด็ดใบ อาจมีก้านใบหรือไม่ก็ได้ รอให้แผลแห้งก่อน (กันเน่า) จากนั้นนำไปปักลงดิน หรือมะพร้าวสับละเอียด หรือพีชมอส รวมทั้งปักชำในทรายล้วน ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ข้อควรระวังคือ อย่าให้วัสดุในการเพาะชำแห้ง เท่านั้นเอง

ระยะเวลาในการออกราก อาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยปกติกวักมรกตจะออกเป็นตุ้ม เป็นหัวก่อน (สะสมอาหาร) จากนั้นก็จะออกรากให้เห็น โดยปกติรากจะมีความอวบอ้วน ยาวเป็นเส้นๆ 

จากนั้น เมื่อกวักมรกตด่างสะสมอาหารเต็มที่ ก็จะทำการแทงกิ่งขึ้นมากใหม่ บริเวณตุ่มราก

ข้อควรระวังระหว่างการชำใบกวักมรกต/ด่าง

ระวัง อย่าให้วัสดุแห้ง โดยเฉพาะผู้ที่ชำใบกวักมรกตด่างโดยใช้ทราย ความชื้นจะช่วยให้ไม้ออกรากได้ง่ายกว่าวัสดุปลูกที่แห้ง ระหว่างการชำใบ ไม่จำเป็นจะต้องให้อาหาร ยกเว็นกรณีที่ไม้ออกรากแล้ว

Post a Comment

ใส่คำแนะนำในส่วนนี้ได้เลยค่ะ

ใหม่กว่า เก่ากว่า

Recent Posts