ทำความรู้จัก ปั้มน้ำ
สำหรับคนในเมืองแล้ว น้ำประปาคือหัวใจสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง การที่น้ำประปาไม่ไหล หรือไหลเบามาก จะทำให้หลายๆ คน รู้สึกไม่สะดวกสบาย คนในเมืองจะอยู่กันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน ซึ่งทำให้เกิดการใช้น้ำในเวลาเดียวกัน ปัญหาที่ตามมาคือ น้ำไม่แรง ดังนั้น แถบทุกบ้านจึงต้องมีตัวช่วย ที่เราเรียกว่า "ปั้มน้ำ" นั่นเอง
ประเภทของปั้มน้ำ
นอกเหนือจากคุณสมบัติในการปั้มน้ำให้เข้าบ้านได้ปริมาณมากขึ้นแล้ว การเลือกซื้อขนาดให้เหมาะสม ก็เป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะกับขนาดของท่อภายในบ้าน นอกจากนี้ การใช้ปั้มน้ำที่มีขนาดใหญ่เกิน อาจทำให้เกิดความเดือดร้อนกับบ้านใกล้เคียงได้เช่นกัน
- ปั๊มน้ำถังกลม หรือ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน
Automatic Water Pump with Pressure Tank - ปั๊มน้ำถังเหลี่ยม หรือ ปั๊มน้ําแรงดันคงที่
Constant Pressure Water Pump
"ปั้มน้ำถังกลม" จะมีถึงความดัน ซึ่งจะทำหน้าที่ดูดน้ำเข้าไปแทนที่อากาศในถังความดัน และจะดันออกมาเมื่อมีการเปิดใช้งาน ซึ่งมีข้อดีอย่างแรกคือ ราคาถูก ค่าบำรุงรักษาก็ถูก แต่ข้อเสียคือ มีขนาดใหญ่กว่า แรงดันของน้ำไม่ค่อยคงที่ ส่วนถึงความดัน ถ้าทำจากเหล็กก็อาจเกิดสนิมได้ง่าย
"ปั้มน้ำถังเหลี่ยม" เป็นปั้มน้ำแรงดนคงที่ ไม่มีถึงความดัน แต่ความดัน เกิดจากถึงโลหะ ที่ข้างในบรรจุก๊าซไนโตรเจน ซึ่งทนต่อความร้อนสูง และได้แรงดันที่เสถียรกว่าอากาศธรรมดา ข้อดี คือได้แรงดันน้ำสม่ำเสมอ ไม่ต้องเติมก๊าซไนโตรเจน ไม่ต้องบำรุงรักษา ส่วนข้อเสีย ก็คงเป็นเรื่องราคาที่แพงกว่า ราคาอะไหล่กรณีเสียสูงกว่า แต่รวมๆ ก็ถือว่าคุ้มกว่า
วิธีเลือกซื้อปั้มน้ำ
ไม่ใช่ว่า ถ้าต้องการแรงดันน้ำสูง จะต้องเลือกซื้อเครื่องปั้มน้ำจำนวนวัตต์มากๆ ซึ่งผิดวิธี แถมยังอาจมีปัญหาเกี่ยวกับท่อน้ำแตกภายในบ้านได้ เนื่องจากแรงดันมากเกินไป และที่สำคัญอีกอย่างคือ ควรติดตั้งแท้งค์น้ำ เพื่อเก็บน้ำก่อนสูบด้วยเครื่องปั้มน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำไม่เพียงพอ อันเป็นที่มาให้ปั้มน้ำเสียหาย
บทความนี้ ได้รวบรวมปัญหาของปั้มน้ำ ถึง "3 ปัญหาหลักเกี่ยวกับปั้นมน้ำ" ที่เชื่อว่าหลายๆ คน อาจเคยประสบปัญหา หรือกำลังประสบปัญหาอยู่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไข แต่ต้องขอออกตัว ส่วนตัวไม่ได้เป็นช่าง แต่อาศัยศึกษาจากเว็บไซต์ออนไลน์นะครับ แต่เอาเป็นว่า หลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับผม สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองจริงๆ แค่นี้ ก็ภูมิใจแล้วครับ แถมไม่เสียสตางค์อีกด้วย
- ปั้มน้ำเงียบ ไม่ดูดน้ำ
- ปั้มเสียงดังเป็นระยะๆ เวลาเปิดน้ำเบา
- ปั้มน้ำทำงาน ทั้งๆ ที่ไม่เปิดน้ำ
1. ปัญหาปั้มน้ำไม่ทำงาน
จากประสบการณ์จริงที่ผ่านมา ที่จู่ๆ ปั้มน้ำก็ไม่ทำงาน ก่อนหน้านี้ ปั้มดูดน้ำจากถังเก็บน้ำที่มีน้ำเหลือน้อย น้ำออกมาไม่แรง จากนั้นปั้มน้ำก็ไม่ทำงาน ลองเปิดน้ำ เครื่องปั้มน้ำเงียบสนิท ตรวจสอบไฟก็ทำงานปกติ เบรกเกอร์ไม่ตก
สาเหตุที่พบมาจาก "ปั้มน้ำทำงานหนักทำให้เครื่องร้อน" นอกจากนี้ การปั้มน้ำ แต่ไม่มีน้ำให้ปั้มก็อาจเป็นตัวก่อปัญหาให้เกิดความร้อนได้ สำหรับคำแนะนำ และผมได้ทดสอบจริงกับ "ถังเหลี่ยม"
- รอให้เครื่องปั้มน้ำเย็นก่อน อาจทิ้งไว้สัก 10-15 นาที ทดสอบเปิดดูใหม่
- ถ้าไม่ได้ ให้ปิดสวิทช์ หรือปลดเบรกเกอร์ลง ปิดวาวล์น้ำ ปิดไม่ให้น้ำไหลเข้า จากนั้น เปิดจุกล่อน้ำ และใส่น้ำลงไป จากนั้น ก็เปิดวาวล์ปกติ และทดสอบดูอีกครั้ง
จากวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เป็นหนึ่งในหลายๆ ปัญหาที่เกิดบ่อย เพราะด้วยอากาศที่ร้อนแสนร้อนในบ้านเรา ประกอบกับระบบท่อน้ำประปาและการใช้งานของบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ท้ายสุด ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่จริงๆ แล้ว ก็อาจขึ้นกับปั้มน้ำแต่ละรุ่น ของผมเป็น Hitachi ถังเหลี่ยม ปั้มน้ำแบบแรงดันคงที่ ไม่มีถังความดัน..
2. ปั้มน้ำดังเป็นช่วงๆ เวลาเปิดก๊อกน้ำไม่สุด
เรื่องนี้ เกิดขึ้นจริงเช่นกัน สำหรับแนวทางแก้ไข ให้ถอด "ถังแรงดันน้ำ หรือ Bladder Tank" โดยหมุนออกมา ดูจากภาพประกอบด้านล่างนี้ สำหรับส่วนตัวแล้ว สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้จริง แต่ก็อาจเกิดขึ้นอีกเป็นช่วงๆ ประมาณ 1-2 ต่อเดือนต่อครั้ง แต่ก็ถือว่า ไม่ใช่ปัญหาครับก็หวังว่า จะมีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหา "เรื่องปั้มน้ำ" ให้กับเพื่อนๆ ที่มีปัญหาเดียวกับผมได้บ้างนะครับ
3. ปัญหาปั้มน้ำทำงาน ทั้งๆ ที่ไม่ได้เปิดน้ำ
ปัญหานี้ ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ส่วนตัวก็เคยประสบเช่นเดียวกัน พยายามตรวจสอบในทุกๆ จุดที่มีก๊อกน้ำ ทั่วบ้าน ไม่ว่าจะเป็นชั้นหนึ่ง หรือชั้นสอง แต่ก็ไม่พบปัญหา แต่สุดท้าย ต้องจ้างช่างเข้ามาตรวจสอบ จึงพบว่า มีจุด "ท่อน้ำรั่ว" ที่อยู่ใต้พื้นดิน (ปัญหานี้ อาจมาจากพื้นดินทรุด ทำให้ไปทับท่อและเกิดการแตกร้าว และแน่นอน ซ่อมเองไม่ไหว และจบปัญหาด้วยการจ้างช่างมาซ่อมแต่ถ้าใครประสบปัญหา และไม่อยากเสียเงิน (ณ ตอนนี้) ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายๆ คือ ปิดสวิทซ์ปั้มน้ำทุกครั้ง ที่เลิกใช้ แต่ก็เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ณ ครับ แต่ที่แนะนำก็เพียงอยากให้มีแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น แต่ท้ายสุด ก็ต้องจบปัญหาด้วยการซ่อมเช่นกัน
แสดงความคิดเห็น
ใส่คำแนะนำในส่วนนี้ได้เลยค่ะ